วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ การเขียนเพื่อผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์



            

1.การเขียนเพื่อผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

         
           การเขียนเป็นเครื่องมือหรือกลไกสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้มนุษย์สื่อสารถึงกันได้สำเร็จตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้  ซึ่งการเขียนสามารถทำได้หลายวิธีโดยใช้รูปแบบของสื่อเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง  ปัจจุบันสื่อต่างๆมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว  ทำให้มนุษย์มีทางเลือกสำหรับการสื่อสารในชีวิตประจำวันมากขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่ออิเล็กทรอนิกส์


  
      1.1 ความหมายและความสำคัญ
               
           สื่ออิเล็กทรอนิกส์
                       เป็นสื่อการเรียนการสอนที่เกิดจากการวิวัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีสารสนเทศและระบบการสื่อสารโทรคมนาคม
            ความหมาย “สื่ออิเล็กทรอนิกส์” 
                         สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic media) หมายถึง สื่อที่บันทึกสารสนเทศด้วย
วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อาจอยู่ในรูปของ สื่อบันทึกข้อมูลประเภทสารแม่เหล็ก
เช่น แผ่นจานแม่เหล็กชนิดอ่อน (floppy disk) และสื่อประเภทจานแสง(optical disk)
บันทึกอักขระแบบดิจิตอลไม่สามารถอ่านได้ด้วยตาเปล่า ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
บันทึกและอ่านข้อมูล
                         เป็นสื่อการเรียนการสอนที่เกิดจากวิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสารโทรคมนาคม การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนการสอนจะออกมาใน
ลักษณะของสื่อประสม หรือมัลติมีเดีย (Multimedia) แสดงผลออกมาหลายรูปแบบตาม
ที่โปรแกรมไว้ เช่น มีเสียง เป็นภาพเคลื่อนไหว สามารถให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ ปัจจุบัน
สื่อประเภทนี้มีหลายลักษณะ


                                       



     1.2 ประเภทของสื่ออิเล็กทรอนิกส์

          1. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI
                         CAI ย่อมาจากคำว่า COMPUTER-ASSISTED หมายถึง สื่อการเรียน
การสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ใน
การนำเสนอสื่อประสม ได้แก้ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ วีดีทัศน์
ภาพเคลื่อนไหวและเสียง
          2. WBI (Web-based Instruction)
                       คือ บทเรียนที่สร้างขึ้นสำหรับการเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
โดยนำจุดเด่นของวิธีการให้บริการข้อมูลแบบ www มาประยุกต์ใช้
Web Base Instructionจึงเป็นบทเรียนประเภท CAI แบบ On-line ใน
ที่นี้หมายความว่า ผู้เรียนเรียนอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อผ่านเครือ
กับเครื่องแม่ข่ายที่บรรจุบทเรียน
          3. การเรียนอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Learning
                         เป็นการศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต
หรืออินทราเน็ตเป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความ
สามารถและความสนใจของตนโดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย
ข้อความ รูปภาพ เสียง วีดีโอ มัลติมีเดียอื่นๆ
          4. E-book
                         เป็นคำภาต่างประเทศ ย่อมาจากคำว่า electronic book หมายถึง หนังสือที่
สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์โดยปกติ
มักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งในระบบ
ออฟไลน์และออนไลน์
          5. E-Training
                         E-Training หมายถึง กระบวนการการฝึกอบรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
เป็นกระบวนการจัดการฝึกทักษะ เพิ่มพูนสาระความรู้ ที่เน้นให้ผู้เข้ารับการอบรม
นั้นเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เข้าอบรมมีอิสระในการเข้าศึกษา เรียนรู้ตามเวลา โอกาสที่
ผู้ฝึกอบรมต้องการโดยเนื้อหาขององค์ความรู้จะถูกออกแบบมาให้ศึกษาเรียนรู้ได้
โดยง่าย ในรูปแบบมัลติมีเดียซึ่งประกอบด้วยสื่อที่เป็นข้อความรูป หรืออาจมี
ภาพเคลื่อนไหว
          6. Learning Object
                         หมายถึง การจัดรูปแบบสาระการเรียนรู้เป็นหน่วยที่เป็นอิสระ
ใช้เวลาสำหรับการเรียนรู้ เป็นช่วงสั้นๆ ประมาณ 2 ถึง 15 นาที และถึงแม้
ว่าจะเป็นการเรียนรู้แบบหน่วยย่อยก็ตาม Learning Object จะมีความสมบรูณ์
ในตัวเอง ซึ่งในแต่ละเนื้อหาจะประกอบชื่อเรื่อง คำอธิบาย คำสำคัญ วัตถุประสงค์
การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และการประเมินผล ประการหนึ่งคือ ผู้เรียนสามารถ
เรียนรู้ด้วยตนเอง
                                                 
     1.3 บทบาทของสื่ออเล็กทรอนิกส์ในชีวิตประจำวัน
         1. ด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล
         2. ด้านการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
              2.1. ข้อมูลประเภทข่าว
              2.2. ข้อมูลประเภทความรู้เชิงวิชาการและความรู้ทั่วไป
              2.3. ข้อมูลประเภทโฆษณาประชาสัมพันธ์
              2.4. ด้านความบันเทิง
              2.5. ด้านงานราชการ
              2.6. ด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์
              2.7. ด้านโทรคมนาคม
              2.8. ด้านธุรกิจ
              2.9.ด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม

2.แนวทางเพื่อการเขียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในชีวิตประจำวัน




           การเขียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไม่แตกต่างจากงานเขียนประเภทอื่นในแง่ขององค์ประกอบในการเขียน  กล่าวคือ  มีส่วนเริ่มต้น  ส่วนเนื้อหา  และส่วนลงท้าย  การเขียนย่อหน้า  แม้การเขียนเพื่อสื่อสารกับคนคุ้นเคยอาจจะไม่ต้องเคร่งครัดเรื่องรูปแบบการเขียน  แต่ยังคงต้องรักษาความถูกต้อง ชัดเจนเหมาะสมกับผู้รับสาร  
           มีประเด็นที่ควรคำนึงถึงสำหรับการใช้ภาษาที่ดี  ได้แก่
                   1. ใช้คำให้เหมาะสมกับความนิยม
                   2. กาลเทศะ  หรือ  การใช้ภาษาเขียนให้เหมาะสมกับระดับของผู้รับสาร
                   3. ความสุภาพ   ควรหลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำหรือข้อความที่มีความหมายแฝง  หรือ  มีในทำให้ตีความได้ในแง่ลบ
                   4. สื่อความตรงไปตรงมา  ควรยึดหลักใช้ภาษาเขียนอ่านเข้าใจง่าย


     2.1 จดหมายอเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล (E-Mail)



          จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) คือ การส่งข้อความหรือข่าวสารจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่นๆ ผ่านทางคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายเหมือนกับการส่งจดหมาย แต่อยู่ในรูปแบบของสัญญาณข้อมูลที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ โดยเปลี่ยนการนำส่งจดหมายจากบุรุษไปรษณีย์มาเป็นโปรแกรม และเปลี่ยนจากการใช้เส้นทางจราจรคมนาคมทั่วไปมาเป็นช่องสัญญาณรูปแบบต่างๆ ที่เชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะตรงเข้ามาสู่ Mail Box ที่ถูกจัดสรรใน Server ของผู้รับปลายทางทันที

          1. แนวทางการใช้งานจดหมายอิเล็กทรอนิกส์    มีขั้นตอนดังนี้
             1.1. ผู้เขียนต้องพิมพ์อีเมลแอดเดรสของผู้ที่เราจะส่งไปในช่องสำหรับผู้รับ
             1.2. กรณีที่ต้องการจะส่งอีเมลไปหาหลายๆคนในเวลาเดียวกันให้พิมพ์อีเมลแอดเดรสของคนเหล่านั้นในช่อง  Cc:   (Carbon  Copy)  คั่นด้วยเครื่องหมายเซมิโคลอน  (;)  จนครบตามจำนวนที่ต้องการ
             1.3. พิมพ์ข้อความที่เป็นหัวเรื่องในช่อง  Subject  ไม่ควรส่งอีเมลแบบไม่มีชื่อเรื่องไป
             1.4.พิมพ์ข้อความที่ต้องการส่งเมื่อพิมพ์ข้อความเสร็จแล้วสามารถส่งอีเมลได้ทันที  โดยคลิกที่ปุ่ม  Send  ทั้งนี้จะต้องมีการเชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ตเรียบร้อยแล้ว
             1.5. หากต้องการส่งข้อความอื่นๆ   ที่มีขนาดยาวหรือมีภาพประกอบซึ่งทำจากโปรแกรมวาดภาพ  ก็สามารถส่งไปพร้อมกับอีเมลได้โดยใช้วิธีการแนบไฟล์  คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Attach  ไปกับอีเมล

          2.แนวทางการใช้ภาษาเพื่อการเขียนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์   ได้ดังนี้
             2.1. เริ่มต้นด้วยการทักทาย    เช่น   สวัสดีครับ   สวัสดีค่ะ
             2.2. หากเป็นการส่งอีเมลถึงผู้รับในครั้งแรก  ควรแนะนำว่าตนเองเป็นใคร  บอกชื่อ  ชื่อสถาบันหรือที่ทำงาน  และความเกี่ยวข้องกับผู้รับสาร
             2.3. เขียนเนื้อหาให้ตรงประเด็น
             2.4.  สรุปจบ  ไม่ลืมที่จะกล่าวขอบคุณในความช่วยเหลือ


      2.2 Facebook


               Facebook คือ บริการบนอินเทอร์เน็ตบริการหนึ่ง ที่จะทำให้ ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารและร่วมทำกิจกรรมใดกิจกรรม หนึ่งหรือหลายๆ กิจกรรมกับผู้ใช้ Facebook คนอื่นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งประเด็นถามตอบในเรื่องที่สนใจ  โพสต์รูปภาพ  โพสต์คลิปวิดีโอ  เขียนบทความหรือบล็อก แชทคุยกันแบบสดๆ  เล่นเกมส์แบบเป็นกลุ่ม (เป็นที่นิยมกันอย่างมาก) และยังสามารถทำกิจกรรมอื่นๆ ผ่านแอพลิเคชั่นเสริม (Applications) ที่มีอยู่อย่างมากมาย ซึ่งแอพลิเคชั่นดังกล่าวได้ถูกพัฒนาเข้ามาเพิ่ม เติมอยู่เรื่อยๆ
                                                 
          1. แนวทางการใช้งานเฟซบุ๊ก  ได้ดังนี้
              1.1. เข้าไปที่ www.facebook.com  จากนั้นจะมีช่องให้สำหรับกรอกข้อมูลการสมัครเชื้องต้น  ไม่ว่าจะเป็นชื่อ  นามสกุล(Full  Name)  อีเมล  (ใช้สำหรับยืนยันในการเปิดใช้บริการครั้งแรก)  เพศ  วัน  เดือน  ปีเกิด  รหัสผ่าน  ตามลำดับ  จากนั้นกดปุ่ม  ลงทะเบียน
              1.2. เมื่อกดปุ่มแล้วมีหน้าจอสำหรับใส่รหัส  ให้พิมพ์เหมือนกับในช่องที่มีตัวอักษร  เมื่อใส่เสร็จแล้วให้กดปุ่ม  Log  In  หรือเข้าสู่ระบบ
              1.3. ระบบแจ้งว่า  ให้ตรวจสอบอีเมลที่ได้ลงทะเบียนเอาไว้
              1.4. เมื่อเปิดอีเมลทาง  Facebook  ส่งมาให้แล้ว  ให้คลิกที่ลิงก์ที่อยู่ในเมลนั้น  เพื่อยืนยันสถานะการลงทะเบียน  จากนั้นจะมาที่จอสำหรับค้นหาเพื่อนจากอีเมล
              1.5. ขั้นตอนต่อมาเป็นขั้นตอนสำหรับใส่ประวัติการศึกษา  สามารถเลือกชื่อสถานศึกษา  ปีที่สำเร็จการศึกษา  ซึ่งต่อมาระบบจะค้นหารายชื่อเพื่อนๆให้โดยอัตโนมัติ
              1.6. ขั้นตอนสุดท้ายให้เลือกประเทศ  เมือง  หรือจังหวัด  เพื่อระบบจะช่วยค้นหารายชื่อคนที่เล่น  Facebook  ในประเทศนั้นให้
              1.7. เมื่อทำตามขั้นตอนต่างๆเรียบร้อยแล้ว  ก็มาที่หน้าแรกของ  Facebook  ซึ่งในตอนแรกยังคงเป็นหน้าว่างๆให้คลิก Profile จากนั้นให้คลิกคำว่า  Add   photos  ซึ่งสามารถสร้างอัลบั้มต่างๆเองได้   รวมไปถึงกำหนดสิทธิ์ได้ว่าอนุญาตให้ใครดูอัลบั้มรูปของเราได้บ้าง
              1.8. การเขียนบันทึกให้เพื่อนๆได้อ่านหรือเก็บไว้เตือนความจำ  ผู็ใช้สามารถเขียนเรื่องราวความทรงจะ  ความประทับใจ โดยใกล้ๆคำว่า   Add  Video  จะมีคำว่า  Write  Note  ให้คลิกที่คำนี้  จากนั้นจะมีช่องสำหรับใส่ชื่อเรื่อง(Title) และเนื้อหา (Body)     เมื่อเสร็จเรียบร้อย  ให้กดปุ่ม Post

          2. แนวทางการใช้ภาษาเขียนข้อความผ่านเฟซบุ๊ก  ได้ดังนี้
              2.1. หากเป็นเรื่องส่วนตัวควรใช้วิธีส่งข้อความทางแมสแสจ (message) แทนการเขียนไว้หรือโพสต์บนวอลล์ (Wall)
              2.2. คิดให้รอบคอบทุกครั้งว่าสิ่งที่เขียน  จะทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิด
              2.3. หากเป็นเรื่องเร่งด่วน  หรือมีความสำคัญควรใช้การติดต่อช่องทางอื่น
              2.4.ไม่ควรเขียแสเงความคิดเห็นมากเกินไป  อาจทำให้คนอื่นเกิดความเข้าใจผิดได้
              2.5. การส่งข้อความด้วยภาษาเขียน  ควรเลือกใช้คำที่แปลความหมายได้อย่างตรงไปตรงมา   ไม่ควรใช้ถ้อยคำที่มีความหมายแฝง
              2.6. ไม่ควรเขียนอัพเดต (Update) สถานะของตนเองมากเกินไป
              2.7. หลีกเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์แต่ในเฉพาะในด้านลบ
              2.8. หลีกเลี่ยงการส่งต่อจดหมายลูกโซ่


     2.3 ทวิตเตอร์ (Twitter)

          
            ทวิตเตอร์ (Twitter) เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จำพวกไมโครบล็อก (Micro Blogging) โดยผู้ใช้สามารถส่งข้อความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่หรือ Re-tweet ข่าวสารที่น่าสนใจของคนอื่น และข้อความที่ส่งถึงกันมีศัพท์เรียกว่า "Tweets" ซึ่งเปรียบเหมือนเสียงนกร้องอยู่ตลอดเวลา ข้อความที่จะส่งนั้นต้อง เป็น Plain text เท่านั้นจะแทรกคำสั่งโปรแกรมอะไรไม่ได้ ยกเว้นแต่ Hyperlink



          1. แนวทางการใช้งานทวิตเตอร์  ได้ดังนี้
               1.1. เข้าไปที่เว็บ  http://www.twitter.com
               1.2. คลิกที่ปุ่ม  Sign  in  จากนั้นให้ใส่  username  (ชื่อทวิตเตอร์ของเรา)  ตามด้วยรหัสผ่าน

           2. แนวทางการใช้ภาษาเขียนข้อความผ่านทวิตเตอร์  ได้ดังนี้
               2.1. การทำหน้าที่สื่อของทวิตเตอร์จะคล้ายกับการประกาศ   แจ้ง  บอกข่าว  ดังนั้นก่อนเขียนข้อความ  ควรคำนึงว่าอาจเป็นการรบกวนผู้อื่นที่ติดตามอ่านอยู่หรือสิ่งใดก็ตามที่ไม่อยากให้รับรู้โดยทั่วกัน  ไม่ควรเขียนเผยแพร่
               2.2. ไม่ควรใช้ความเป็นเพื่อนกับความเป็นลูกค้าปะปนกัน
               2.3. ไม่ควรสมัครบัญชีทวิตเตอร์ไว้หลายบัญชีจยเกินไป
               2.4. ไม่ควรตอบกลับข้อความโดยไม่อ่าน
               2.5. หากเป็นเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องเร่งด่วน  ควรติดต่อเป็นการส่วนตัว
               2.6. กรณีที่ไม่พอใจบุคคลหรือเรื่องที่ผู้อื่นทวิตก็ควรเลือก   Unfollow  แทนการวิพากษ์วิจารณ์ตอบโต้ หรือว่ากล่าว
               2.7. เมื่อต้องการสื่อสารกับผู้ที่อยู่ในฐานะสูงกว่าหรือในโอกาสที่เป็นทางการ  กึ่งทางการ  ไม่ว่าจะเป็นคำขึ้นต้น  การเชื่อมความ  คำลงท้ายหรือคำที่ใช้สำหรับแสดงความึิดเห็นมีตัวอย่างคำที่แนะนำ  ดังนี้
    
    คำพูดเริ่มต้น
-มีประเดฝ้นที่ดิฉันอยากเสนอให้........พิจารณา  คือ
-ทีเรื่องที่จะแจ้าเพื่อทราบ  คือ
-มีส่วน/กรณีที่อยากให้........ลองทบทวน   เป็นตัน
    
    คำพูดขยายความ
-ยกตัวอย่างเช่น
-ได้แก่
-คือ
-หมายถึง  เป็นต้น
    
    คำพูดเพื่อนเชื่อมความ
-และแล้ว
-จากนั้น
-ทำให้
-และ   เป็นต้น
    
    คำพูดเพื่อจบความ
-ท้ายที่สุดนี้
-สุดท้ายนี้
-ดังนั้น
-บทสรุปของเรื่อง/เหตุการณ์นี้   เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น